ข้อสอบราชการ - งานราชการ

ราชการไทย.com

หางานราชการและความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงาน

และความรู้เกี่ยวกับการเป็นข้าราชการ พนักงานราชการ ในหน่วยงานภาครัฐ


 งานราชการที่กำลังเปิดรับสมัครสอบ/ความรู้เกี่ยวกับการทำงาน


การลาการลาของข้าราชการระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕


ข้อควรรู้เกี่ยวกับการลาการลาของข้าราชการระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕

ข้าราชการ

- ลาตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปต้องมีใบรับรองแพทย์

➢ ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างการลาในปีหนึ่งไม่เกิน 60 วันทำการยกเว้น ปวท. เห็นชอบให้ลาต่อไปได้อีกไม่เกิน 60 วันทำการ

 

ลากิจ

มีสิทธิลากิจได้ปีละไม่เกิน 45 วันทำการแรกที่รับราชการมีสิทธิลาได้ 15 วันทำการ

ลาคลอด

➢ มีสิทธิลาได้ 90 วัน โดยได้รับเงินเดือน

➢ ยื่นใบลาก่อนหรือในวันที่ลาคลอดบุตร

➢ ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่อง ได้ไม่เกิน 150 วันทำการ ไม่ได้รับ เงินเดือน

ลาไปช่วยภริยาคลอดบุตร

➢ ลาครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 15 วันท าการได้รับเงินเดือน ระหว่างลา

➢ ยื่นใบลาก่อนหรือในวันที่ลาภายใน 90 วัน นับจากวันที่คลอดบุตร

ลาพักผ่อน

➢ ปฏิบัติงานไม่ถึง 6 เดือน ไม่มีสิทธิ ลาพักผ่อน

➢ มีสิทธิลาพักผ่อนในปีหนึ่งได้ 10 วัน ทำการ ผู้ที่รับราชการติดต่อกันไม่ถึง 10 ปี สะสมวันลาปีต่อๆ ไปรวม กับปีปัจจุบัน ไม่เกิน 20 วันทำการ ผู้ที่รับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี สะสมวันลาปีต่อๆ ไปรวมกับปี ปัจจุบันไม่เกิน 30 วันทำการ

ลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์

➢ รับราชการไม่น้อยกว่า 12 เดือน

➢ ลาได้ไม่เกิน 120 วัน

➢ ขออนุมัติการลา ไม่น้อยกว่า 60 วัน

➢ จะต้องอุปสมบทภายใน 10 วัน นับจากวันลา และรายงานตัวกลับเข้า ปฏิบัติราชการภายใน 5 วัน

 

ลาไปถือศีลและปฏิบัติธรรม

➢ ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน

ลาเพื่อรับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล

➢ ลาตามระยะเวลาที่ทางราชการ ทหารกำหนด

ลาติดตามคู่สมรส

➢ ลาได้ไม่เกิน 2 ปี

➢ กรณีจำเป็นลาต่อได้อีก 2 ปี รวมแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี

 ➢ ไม่ได้รับเงินเดือน

ลาไปศึกษาฝึกอบรมปฏิบัติงานวิจัยหรือดูงาน

➢ ได้รับเงินเดือนระหว่างการลา ไม่เกิน 4 ปี

➢ หากลาต่อเมื่อรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 6 ปี

ลงข้อมูลวันที่: 29/11/2565

การลาการลาของพนักงานราชการระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕


ข้อควรรู้เกี่ยวกับการลาการลาของพนักงานราชการระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕

พนักงานราชการ


ลาป่วย

➢ ลาตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์

➢ ลาได้เท่าที่ป่วยจริง มีสิทธิได้รับ ค่าตอบแทนปีหนึ่ง ไม่เกิน 30 วัน

ลากิจ

➢ ลาได้ไม่เกิน 10 วันทำการ

ลาคลอด

➢ มีสิทธิลาคลอดบุตรได้ 90 วัน ได้รับค่าตอบแทนระหว่าง การลา 45 วัน

ลาไปช่วยภริยาคลอดบุตร

                             -

ลาพักผ่อน

➢ ปฏิบัติงานไม่ถึง 6 เดือน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน

➢ มีสิทธิลาพักผ่อนในปีหนึ่งได้ 10 วัน สะสมวันลาปีต่อๆ ไปรวม กับปีปัจจุบัน ไม่เกิน 15 วันทำการ

ลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์

➢ ได้รับการจ้างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4 ปี

➢ ลาได้ไม่เกิน 120 วัน

ลาไปถือศีลและปฏิบัติธรรม

➢ ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน

ลาเพื่อรับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล

➢ ลาตามระยะเวลาที่ทางราชการทหาร กำหนด

➢ ได้รับค่าตอบแทนระหว่าง ลาปีหนึ่งไม่เกิน 60 วัน

ลาติดตามคู่สมรส

                          -

ลาไปศึกษาฝึกอบรมปฏิบัติงานวิจัยหรือดูงาน

                           -

 

ลงข้อมูลวันที่: 29/11/2565

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการและพนักงานราชการ


กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการและพนักงานราชการ

• ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕

- ให้ปลัดสำนักนำยกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้และมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

• พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕

• พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๕

• ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการเรื่องสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ.2554

ลงข้อมูลวันที่: 29/11/2565

บำเหน็จตกทอดของข้าราชการที่เสียชีวิตแล้วจะแบ่งจ่ายให้แก่ท่ายาทอย่างไร


บำเหน็จตกทอดของข้าราชการที่เสียชีวิตแล้วจะแบ่งจ่ายให้แก่ท่ายาทอย่างไร

คำตอบ:

ทายาทตำมกฎหมายมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดตำมส่วน ดังนี้

1. บิดา มารดา หรือบิดา หรือมารดา ที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับ 1 ส่วน

2. สามีหรือภริยา ให้ได้รับ 1 ส่วน

3. บุตรให้ได้รับ 2 ส่วน ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปให้ได้รับ 3 ส่วน

ลงข้อมูลวันที่: 28/11/2565

การจัดซื้อจัดจ้างมี 3 วิธี ตาม พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560


การจัดซื้อจัดจ้างมี 3 วิธี ตาม พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

การจัดซื้อจัดจ้างมี 3 วิธี
 1. วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป 
 2. วิธีคัดเลือก : เชิญชวนเฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติฯ ไม่น้อยกว่า 3 ราย
 3. วิธีเฉพาะเจาะจง : เชิญชวนเฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติฯ รายใดรายหนึ่ง

โดยให้เลือกวิธีที่ 1 ก่อนเสมอ


ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก
#ดอกบัวใต้เสาชิงช้า #สาระดีดี

ลงข้อมูลวันที่: 20/11/2565

มาดูสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 40 จะได้อะไรบ้าง


สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตน มาตรา 40 สามารถแบ่งตามเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายทุกเดือน โดยรายละเอียดมีดังนี้

จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน

ประสบอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาท/วัน (ไม่เกิน 30 วัน/ปี)

ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท/เดือน (ไม่เกิน 15 ปี)

เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท (ได้รับเพิ่ม 8,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต)

จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน

ประสบอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาท/วัน (ไม่เกิน 30 วัน/ปี)

ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท/เดือน (ไม่เกิน 15 ปี)

เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท (ได้รับเพิ่ม 8,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต)

ชราภาพ รับบำเหน็จชราภาพ 50 บาท/เดือน (ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท/เดือน)

จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

ประสบอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาท/วัน (ไม่เกิน 90 วัน/ปี)

ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท/เดือน (ตลอดชีวิต)

เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท

ชราภาพ รับบำเหน็จชราภาพ 150 บาท/เดือน กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม 10,000 บาท (ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท/เดือน)

สงเคราะห์บุตร รับเงินสงเคราะห์บุตร 200 บาท/คน/เดือน (ครั้งละไม่เกิน 2 คน)

 

ลงข้อมูลวันที่: 17/11/2565

จะสมัครประกันสังคม ม.40 ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง


บุคคลที่จะสมัครประกันสังคม ม.40 ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง และกี่ทางเลือก


คุณสมบัติของผู้สมัคร มาตรา 40

- เป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือ เป็นผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีเลขประจำตัวหลักแรกเป็น 0 หรือ 6 หรือ 7
- อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
- ผู้พิการทางร่างกายที่รับรู้สิทธิ
- ไม่เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 และ 39 หรือ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ผู้ประกันตนนอกระบบ (มาตรา 40)

ผู้ประกันตน มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39
การจ่ายเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 40 มีด้วยกัน 3 ทางเลือก ได้แก่
- จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
- จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
- และจ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

ลงข้อมูลวันที่: 17/11/2565

ลาคลอด บริษัท หรือ นายจ้าง ต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้าง อย่างไร?


ลาคลอด บริษัท หรือ นายจ้าง ต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้าง อย่างไร?

ตามมาตรา 59 ระบุไว้ว่า "ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรา 41 เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 45 วัน"

ซึ่งเนื่องจากตามกฎหมายเดิมให้ลาคลอดได้ 90 วัน และมีอัพเดทเพิ่มมาให้ลาไปตรวจครรภ์ได้อีก 8 วัน (เดือนละครั้ง) ดังนั้น วิธีคิดวันลาคลอด ที่บริษัทต้องจ่าย จะเป็นดังนี้

สิทธิลาคลอดตามกฎหมาย = 90 + 8 วัน สำหรับลาไปตรวจครรภ์

สิทธิวันลาคลอด บริษัทต้องจ่าย = 45 + 8 วัน


ทั้งนี้ตามมาตรา 59 ให้บริษัทจ่ายไม่เกิน 45 วัน ดังนั้น หากพนักงานไม่ได้ใช้สิทธิลาคลอดเพื่อไปตรวจครรภ์เดือนละครั้ง (8 วัน) บริษัทจะแค่ 45 วัน หรือจ่ายเพิ่มให้เป็น 45+8 ทีหลังก็ได้ตามแต่บริษัทและลูกจ้างตกลงกัน


แต่ห้ามจ่ายน้อยกว่านั้นเด็ดขาด เพราะหากจ่ายน้อยกว่า 45 วัน ก็จะถือว่า ฝ่าฝืนการปฏิบัติตามมาตรา 59 และอาจจำต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาทได้

ลงข้อมูลวันที่: 17/11/2565

พนักงานราชการที่จะได้เลื่อนค่าตอบแทนระยะเวลาการปฏิบัติงานเท่าใด


พนักงานราชการที่จะได้เลื่อนค่าตอบแทนในแต่ละรอบการประเมินจะต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติงานเท่าใด

ตอบ :

ในรอบปีงบประมาณที่แล้วมาต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า ๘ เดือน

ลงข้อมูลวันที่: 16/11/2565

พนักงานราชการจะไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้างในกรณีใดบ้าง


พนักงานราชการจะไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้างในกรณีใดบ้าง

ตอบ : ไม่มีกรอบอัตรากำลัง

- หากผู้บังคับบัญชาได้ประเมินผลการปฏิบัติงานแล้วมีคะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินผลการ

ปฏิบัติงาน ๒ ครั้งติดต่อกันต่ำกว่าระดับดี

ลงข้อมูลวันที่: 16/11/2565

การเลื่อนขั้นค่าจ้างของลูกจ้างประจำในหน่วยงานภาครัฐ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง


การเลื่อนขั้นค่าจ้างของลูกจ้างประจำในหน่วยงานภาครัฐ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ตอบ :

- การเลื่อนขั้นค่าจ้างในวันที่ 1 เมษายน มี 3 ระดับ คือ 0.5 ขั้น 1 ขั้น และไม่เลื่อนขั้นค่าจ้าง โดยพิจารณาตามผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานครึ่งปีแรก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม

- การเลื่อนขั้นค่าจ้างในวันที่ 1 ตุลาคม มี 4 ระดับ คือ 0.5 ขั้น 1 ขั้น 1.5 ขั้น และไม่เลื่อนขั้นค่าจ้าง โดยพิจารณาตามผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานครึ่งปีหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน

ลงข้อมูลวันที่: 16/11/2565

หน่วยงานราชการจะขอจ้างพนักงานราชการได้ต้องดำเนินการอย่างไร


ส่วนราชการ หรือหน่วยงานราชการ ที่ประสงค์จะจ้างพนักงานราชการจะต้องดําเนินการอย่างไรบ้าง

 คําตอบ 

ส่วนราชการต้องจัดทํากรอบอัตรากําลังพนักงานราชการเป็นกรอบที่มีระยะเวลา 4 ปี เสนอ อ.ก.พ.กระทรวงให้ความเห็นชอบก่อนขออนุมัติจากคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ และเมื่อได้รับอนุมัติกรอบอัตรากําลังแล้ว 

จึงจะสามารถดําเนินการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการตามกรอบที่ได้รับอนุมัติภายใต้งบประมาณที่ได้รับจัดสรร และทําสัญญาจ้างผู้ได้รับการเลือกสรรเป็นพนักงานราชการ 

ลงข้อมูลวันที่: 15/11/2565

จะมีการปรับให้พนักงานราชการเป็นข้าราชการได้หรือไม่


ในหน่วยงานราชการจะมีการปรับให้พนักงานราชการเป็นข้าราชการได้หรือไม่ อย่างไร

คําตอบ 

ไม่มี เนื่องจากการบรรจุเป็นข้าราชการต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนกําหนด ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสมัครเข้ารับการสรรหาและเลือกสรรได้

ลงข้อมูลวันที่: 15/11/2565

บุคคลในครอบครัวของข้าราชการ ที่มีสิทธิได้รบการรักษาพยาบาลได้แก่ใครบ้าง


บุคคลในครอบครัวของข้าราชการ ที่มีสิทธิได้รบการรักษาพยาบาลได้แก่ใครบ้าง
 

คำตอบ:

1. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

2. บิดา มารดา

3. คู่สมรส

ทั้งนี้ไม่รวมบุตรบุญธรรมและบิดา มารดาบุญธรรม

 

ลงข้อมูลวันที่: 14/11/2565

ลูกจ้าง ต้องการหนังสือรับรองการส่งเงินสมทบของตนเอง ต้องดำเนินการอย่างไร


ขั้นตอนการขอหนังสือรับรองการส่งเงินสมทบประกันสังคมของตนเอง มีขั้นตอนทำอย่างไรทั้งในกรณีติดต่อด้วยตนเอง หรือ กรณีมอบอำนาจ

1. กรณีมาติดต่อดวยตนเอง

- กรอกแบบคำขอตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตนที่เคาน์เตอร์ประชาสีมพันธ์
- รอเรียกคิว และ รับหนังสือรับรอง

2. กรณีมอบอำนาจ

- ผู้รับมอบอำนาจ จะต้องเป็นสามี-ภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันเท่านั้น
- กรอกแบบคำขอตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน ที่เคาร์เตอร์ประชาสัมพันธ์
- แนบหนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสมป์ 10 บาท
- แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ
Cr.สำนักงานประกันสังคม
#ความรู้_HR

ลงข้อมูลวันที่: 14/11/2565

ตัวชี้วัด หรือ Key Performance Indicators (KPIS) คือ อะไร


ตัวชี้วัด หรือ Key Performance Indicators (KPIS) คือ อะไร

ตอบ

ตัวชี้วัด หรือ Key Performance Indicators (KPIS) เป็นดัชนีชี้วัด หรือหน่วยวัดความสำเร็จ ของผลการปฏิบัติราชการของผู้รับการประเมิน ซึ่งใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยผู้บังคับบัญชาหรือผู้ประเมิน และผู้รับการประเมินจะต้องกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติ ราชการและค่าเป้าหมายร่วมกันตั้งแต่ต้นรอบการประเมิน และสิ่งที่กำหนดร่วมกันนี้จะใช้ เป็นเกณฑ์ในการประเมิน โดยเมื่อทำการประเมินก็ให้นำผลการปฏิบัติราชการที่เกิดขึ้นจริง ตามตัวชี้วัดนั้น ๆ มาพิจารณาเทียบกับค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้เพื่อประเมินเป็นผลการ ประเมินหรือคะแนนการประเมิน

ลงข้อมูลวันที่: 11/11/2565