ข้อสอบราชการ - งานราชการ

 งานราชการที่กำลังเปิดรับสมัครสอบ/ความรู้เกี่ยวกับการทำงาน


แนวนโยบายแห่งรัฐ


ให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน

รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่างๆ ยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อได้ประกาศ

ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ (มาตรา 65 เป็นที่มาของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี)

ลงข้อมูลวันที่: 25/05/2566

รัฐสภาประกอบด้วย


รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา บุคคลจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันมิได้ รัฐสภาทำหน้าที่พิจารณาและจัดทำกฎหมาย

ลงข้อมูลวันที่: 25/05/2566

ประธานสภา คือ ใคร


ประธาน ส.ส. เป็นประธานสภา  ประธาน ส.ว. เป็นรองประธานสภา รัฐสภา = 700 คน

สภาผู้แทนราษฎร์ = 500 คน 
- มาจากเลือกตั้ง
- มีวาระ  4 ปี
- แบ่งเขตเลือกตั้ง 350 คน
- บัญชีรายชื่อ 150 คน
- อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี

สภาผู้แทนวุฒิสภา = 250 คน
- มาจากการเลือกตั้งกันเอง
- มีวาระ 5 ปี
- อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี

ตามบทเฉพาะกาล
-  ใยนวาระแรก (5ปี แรก) ให้มีจำนวน 250 คน แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ตามที่ คสช.ถวายคำแนะนำ
**ในช่วงแรก รัฐสภามี 750 คน**

ลงข้อมูลวันที่: 25/05/2566

นายจ้างทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างแล้ว เมื่อถึง กำหนดวันเริ่มงาน นายจ้างยกเลิกสัญญา ลูกจ้างจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่


เมื่อคำเสนอสนองต้องตรงกันแล้ว สัญญาย่อมเกิดขึ้น กรณีถือว่าสัญญาจ้างแรงงานได้เกิดขึ้นแล้วนับแต่วันที่ลูกจ้างนายจ้างตกลงกัน เมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ให้ลูกจ้างทำงาน ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาได้

ลงข้อมูลวันที่: 01/05/2566

นายจ้างทำสัญญาจ้างจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพได้หรือ


กฎหมายคุ้มครองแรงงานมิได้มีบทบัญญัติห้ามในเรื่องดังกล่าวไว้จึงขึ้นอยู่กับนายจ้างลูกจ้างตกลงกัน โดยที่สัญญาจำกัดสิทธิเป็นสัญญาทางแพ่งและมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง เช่น สัญญารักษความลับ สัญญาใช้ทุน สัญญาห้ามประกอบกิจการแข่งขันกันภายหลังลูกจ้างออกจากงานแล้ว เป็นต้น มีหลักพิจารณา ดังนี้

หากสัญญานั้นเป็นการจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพของลูกจ้างอันมีลักษณะเป็นการตลอดไป ตลอดพื้นที่อย่างไม่มีจำกัด ถือว่าเป็นสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงเป็นโมฆะ

หากสัญญานั้นเป็นการจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพของลูกจ้างที่กำหนดห้ามในระยะเวลาจำกัด เช่น ๒ ปี ๓ ปี หรือห้ามเฉพาะบางพื้นที่ สัญญานี้บังคับได้ แต่เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาว่าสัญญาดังกล่าวเป็นธรรมหรือไม่ หากไม่เป็นธรรมศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจบังคับสัญญาให้เป็นธรรมทั้งสองฝ่ายได้ เช่น ลดระยะเวลาห้าม ลดค่าเสียหาย เป็นต้น

ลงข้อมูลวันที่: 28/04/2566

นายจ้างไม่ได้ทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ ต่อมา ไม่จ่ายค่าจ้าง ลูกจ้างจะฟ้องร้องได้หรือไม่


ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดให้สัญญาจ้างแรงานเป็นสัญญาไม่มีแบบ ดังนั้นไม่ว่าจะทำเป็นหนังสือ ด้วยวาจา หรือโดยปริยายก็ตาม ย่อมผูกพันนายจ้างลูกจ้างตามที่ตกลงในสัญญา ดังนั้น แม้นายจ้างไม่ทสัญญาเป็นหนังสือ ลูกจ้างก็ฟ้องบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างตามจำนวนค่าจ้างที่ค้างจ่ายได้

ลงข้อมูลวันที่: 27/04/2566

วันเวลาทำงานปกติกำหนดไว้อย่างไร


กฎหมายกำหนดให้นายจ้างประกาศชั่วโมงการทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบวันหนึ่งไม่เกิน ๘ ชั่วโมง สำหรับงานทั่วไป และไม่เกินวันละ ๗ ชั่วโมง สำหรับงานที่อาจเป็นตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้าง

ลงข้อมูลวันที่: 31/01/2566

ค่าตอบแทนให้กับลูกจ้างอย่างไร


สามารถตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติในวันหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนกี่ชั่วโมงก็ได้ แต่เมื่อรวมเวลา ทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน ๔๘ ชั่วโมง เช่น ตกลงกันทำงานวันละ 12 ชั่วโมง 4 วัน และวันหยุดประจำสัปดาห์ 3 วัน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามสำหรับลูกจ้างรายวัน นายจ้างต้องจ่าย ค่าตอบแทนสำหรับชั่วโมงทำงานที่เกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมง อัตรา 1.5 เท่า ในวันปกติ และอัตรา 3 เท่า สำหรับวันหยุด ตามกฎกระทรวงฯ ฉบับที่ 13

หมายเหตุ

1. ลูกจ้างรายเดือนได้รับค่าจ้างเต็มเดือนอยู่แล้วนายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนเพิ่มให้ อีก2. การทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมง ตามที่ตกลงกันถือเป็นการทำงานในเวลาปกติ มิใช่ เป็นการทำงานล่วงเวลา กฎหมายจึงกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนแก่ลูกจ้างรายวัน

ลงข้อมูลวันที่: 31/01/2566

ความรู้เกี่ยวกับศาสนพิธี ศาสนพิธีเกิดขึ้นได้อย่างไร


ศาสนพิธีเกิดขึ้นมาจากหลักการในทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงให้พระสงฆ์ 1,250 องค์ ฟังในวันมาฆบูชา ซึ่งเรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ มีอยู่ 3 ประการ

 คือ

1. การไม่ทําความชั่วทุกอย่าง
2. การทําความดีให้ถึงพร้อม
3. การทําใจให้ผ่องใส เมื่อชาวพุทธทําความดีต่าง ๆ ตามหลักการที่พระพุทธองค์ ตรัสไว้ซึ่งเรียกว่า การทําบุญ วัตถุ เป็นที่ตั้งแห่งการทําบุญเรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ มีอยู่ 3 ประการ

คือ

1. ทานการให้สิ่งของต่าง ๆ
2. ศีล การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย
3. ภาวนา การทําจิตให้ผ่องใส บุญกิริยาวัตถุทั้ง 3 ประการนี้เมื่อชาวพุทธทําแล้ว ทําให้เกิด ศาสนพิธีต่างๆ ขึ้นมาตามลําดับ ตามยุคตามสมัย

ลงข้อมูลวันที่: 31/01/2566

นายจ้างทำสัญญาจ้างจำกัดสิทธิในการประกอบ อาชีพได้หรือไม่


กฎหมายคุ้มครองแรงงานมิได้มีบทบัญญัติห้ามในเรื่องดังกล่าวไว้จึงขึ้นอยู่กับนายจ้างลูกจ้าง ตกลงกัน โดยที่สัญญาจำกัดสิทธิเป็นสัญญาทางแพ่งและมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน อย่างหนึ่ง เช่น สัญญารักษาความลับ สัญญาใช้ทุน สัญญาห้ามประกอบกิจการแข่งขันกัน ภายหลังลูกจ้างออกจากงานแล้ว เป็นต้น

มีหลักพิจารณา ดังนี้

(๑) หากสัญญานั้นเป็นการจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพของลูกจ้างอันมีลักษณะ เป็นการตลอดไป ตลอดพื้นที่อย่างไม่มีจำกัด ถือว่าเป็นสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ข้อตกลงเป็นโมฆะ
(๒) หำกสัญญานั้นเป็นการจำกัดสิทธิในกำรประกอบอาชีพของลูกจ้างที่กำหนดห้ามในระยะเวลา จำกัด เช่น ๒ ปี ๓ ปี หรือห้ามเฉพาะบางพื้นที่ สัญญานี้บังคับได้ แต่เป็นดุลพินิจของศาลที่จะ พิจารณาว่าสัญญาดังกล่าวเป็นธรรมหรือไม่ หากไม่เป็นธรรมศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจบังคับสัญญา ให้เป็นธรรมทั้งสองฝ่ายได้ เช่น ลดระยะเวลาห้าม ลดค่าเสียหาย เป็นต้น

ลงข้อมูลวันที่: 30/01/2566

ราชภัฏยะลา รับสมัคร วันที่ 23 - 31 มกราคม 2566 เป็นพนักงานราชการ


วันที่ 23 - 31 มกราคม 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รับสมัครบุคคลเพื่อสรรหาและเลือกสรรเข้าเป็นพนักงานราชการ
ตำแหน่งครูผู้ช่วย สาขาการปฐมวัย จำนวน 1 อัตรา
ตำแหน่งครูผู้ช่วยสาขาคณิตศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา
เปิดรับสมัครวันที่ 23 - 31 มกราคม 2566   
คลิก https://www.yru.ac.th/th/uploads/events/prakas-rab-smakhr-phnakngan-rachkar-sirikwan-chuprawath581f42e12527ee6cdfcab27bdff87d7e-b703efc658.pdf

ลงข้อมูลวันที่: 11/01/2566

พนักงานราชการมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างไร


มีการประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานราชการปีละ 2 ครั้ง ไม่ว่าจะได้รับการจ้างมาในช่วงเวลาใดของช่วงการประเมิน คือ

               - ครั้งที่ 1 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม ของปีหนึ่ง ถึง 31 มีนาคม ของอีกปีหนึ่ง
               - ครั้งที่ 2 ตั้งแต่ 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ของปี เดียวกัน


 ผลการประเมินจะนําไปใช้ในการพิจารณาเลื่อนค่าตอบแทนและการต่อสัญญาจ้าง รวมทั้งการบริหารงานบุคคลอื่นๆ

เช่น การพัฒนาและฝึกอบรม เป็นต้น

ลงข้อมูลวันที่: 27/12/2565

ประเภทกิจการที่ต้องมี จป. ตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2565


กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 แบ่งประเภทกิจการที่ต้องมี เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานออกเป็น 3 บัญชี รวมแล้วทั้งหมด 64 ประเภทสถานประกอบกิจการ ที่ต้องดำเนินการตามกฎกระทรวงนี้

บัญชี 1

  1. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  2. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
  4. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  5. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ

บัญชี 2

  1. อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
  3. อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
  4. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
  5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  6. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
  7. อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
  8. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
  9. อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
  10. อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
  11. อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  12. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
  13. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
  14. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
  15. อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
  16. อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  17. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  18. อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
  19. อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
  20. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
  21. อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
  22. อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
  23. อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
  24. อุตสาหกรรมของเล่น
  25. อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
  26. อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
  27. อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
  28. อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
  29. อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
  30. อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
  31. สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
  32. คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
  33. การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  34. อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
  35. อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  36. การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
  37. อุตสาหกรรมการขนส่ง
  38. การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
  39. กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
  40. กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
  41. การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
  42. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  43. กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
  44. ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
  45. ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
  46. โรงพยาบาล
  47. การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
  48. การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
  49. สวนสัตว์หรือสวนสนุก

บัญชี 3

  1. ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
  2. ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  3. สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
  4. การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
  5. โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
  6. โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละคร
  7. สวนพฤกษศาสตร์
  8. สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
  9. สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
  10. สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2

ลงข้อมูลวันที่: 21/12/2565

บทบาทหน้าที่ จป.วิชาชีพ ตามกฎหมายใหม่ 2565


บทบาทหน้าที่ จป วิชาชีพ ตามกฎหมายใหม่ กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 มีอะไรบ้าง


สถานประกอบกิจการบัญชี 1 ที่มีลูกจ้างจำนวน 2 คนขึ้นไป ประกอบด้วย

  1. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  2. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
  4. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  5. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ

สถานประกอบกิจการตามบัญชี 2 ที่มีลูกจ้างจำนวน 100 คนขึ้นไป ประกอบด้วย

1. อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
3. อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
4. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
6. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
7. อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
8. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
9. อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
10. อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
11. อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
12. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
13. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
14. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
15. อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
16. อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
17. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
18. อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
19. อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
20. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
21. อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
22. อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
23. อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
24. อุตสาหกรรมของเล่น
25. อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
26. อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
27. อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
28. อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
29. อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
30. อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
31. สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
32.คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
33. การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
34.อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
35. อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
36. การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
37. อุตสาหกรรมการขนส่ง
38. การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
39. กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
40. กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
41. การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
42. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
43. กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
44. ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
45. ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
46. โรงพยาบาล
47. การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
48. การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
49. สวนสัตว์หรือสวนสนุก

 ต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 21 อย่างน้อย 1 คน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ประจำสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวน ดังกล่าว

ลงข้อมูลวันที่: 21/12/2565

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานมีกี่ประเภท


เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน มี  2 ประเภท

1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง

               - ระดับหัวหน้างาน

               - ระดับบริหาร

2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยหน้าที่เฉพาะ

               - ระดับเทคนิค

               - ระดับเทคนิคขั้นสูง

               - ระดับวิชาชีพ

ลงข้อมูลวันที่: 16/12/2565

นายจ้างจัดการฝึกอบรมความปลอดภัย ในการทำงานก่อนการเริ่มทำงาน


ให้นายจ้างจัดการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานก่อนการเริ่มทำงาน

               - ผู้บริหาร หัวหน้างาน ลุกจ้างทุกคน

               - ลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนเครื่องจักร หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตราย

               - การฝึกอบรมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด (มาตรา 16)


ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน การฝึกอบรมฯ ด้านความปลอดภัยฯ (ม.16)

เก็บหลักฐานการฝึกอบรมไว้ให้ตรวจสอบ โดยวิทยากรตามที่กำหนด

ลูกจ้างระดับบริหาร

               12 ชั่วโมง (การบริหาร กฎหมาย ระบบการจัดการ)

ลูกจ้างระดับหัวหน้างาน

               12 ชั่วโมง (ความรู้ด้าน OHS กฎหมายการค้นหาอันตรายการป้องกัน และควบคุม)

ลูกจ้างทั่วไปลูกจ้างใหม่

               6 ชั่วโมง (ความรู้ด้าน OHS กฎหมาย ข้อบังคับ )

ลูกจ้างเปลี่ยนงาน

               3 ชั่วโมง (ปัจจัยเสี่ยง ข้อบังคับ)


คุณสมบัติวิทยากร

1. ผู้มีความรู้และประสบการณ์ทำงานในหัวข้อที่บรรยาย 3 ปี และประสบการณ์เป็นวิทยากร 1 ปี หรือ มีความรู้และประสบการณ์ทำงานในหัวข้อที่บรรยาย 1 ปี สำหรับการฝึกอบรมลูกจ้างทั่วไป ลูกจ้างใหม่ ลูกจ้างเปลี่ยนงาน (ตามประกาศกรมฯ ข้อ 7 และ 8)

2. อาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่จบ ป.ตรี อาชีวอนามัย และมีประสบการณ์สอนวิชาด้านความปลอดภัยในการทำงาน 3 ปี

3. เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐที่มีวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัย หรือผ่านหลักสูตรพนักงานตรวจ' โดยมีประสบการณ์ด้านความปลอดภัย 3 ปี และประสบการณ์เป็น

ลงข้อมูลวันที่: 16/12/2565