ข้อสอบราชการ - งานราชการ

 งานราชการที่กำลังเปิดรับสมัครสอบ/ความรู้เกี่ยวกับการทำงาน


นายจ้างไม่ส่งและสมทบเงินประกันสังคมมีโทษทั้งจำ ทั้งปรับ


นายจ้างไม่ดำเนินการตามกฎหมายถือว่าลูกจ้างนำส่งแล้วสามารถใช้สิทธิได้ตามปกติ

นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนกับทางประกันสังคม ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ 2533

โดยนายจ้างต้องขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีการจ้างงานและเมื่อมีลูกจ้างใหม่ก็ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันเช่นเดียวกัน


และเมื่อมีลูกจ้างออกจากงานนายจ้างก็มีหน้าที่แจ้งออก โดยระบุสาเหตุการออกจากงาน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

กรณีนายจ้างไม่ขึ้นทะเบียน ไม่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมให้กับลูกจ้าง นายจ้างมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ 2533  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากนายจ้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคมเกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป นายจ้างจะต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน

ลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ต้องตกใจหากนายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนให้หรือไม่ส่งเงินสมทบให้ รวมถึงหักแล้วไม่นำส่ง  #กฎหมายถือว่าลูกจ้างได้นำส่งแล้ว_และได้รับสิทธิประโยชน์ตามปกติ


เมื่อนายจ้างไม่ดำเนินการตามกฎหมาย..
ขอให้ลูกจ้างผู้ประกันตนปฏิบัติดังนี้..!

1.) เก็บหลักฐานการทำงานไว้ เริ่มทำงานถึงวันสิ้นสุดหรือจนถึงปัจจุบัน
2.) เก็บหลักฐานการรับค่าจ้างไว้ เช่นสลิปเงินเดือนหรือ statement ก็ใช้ได้กรณีรับค่าจ้างผ่านบัญชีธนาคาร
3.) นำหลักฐานไปยื่นแสดงที่สำนักงานประกันสังคม พร้อมเก็บหลักฐานการยื่นเรื่องไว้

หากนายจ้างไม่ดำเนิการตามกฎหมายนายจ้างมีความผิด

ส่วนลูกจ้างผู้ประกันตนมีสิทธิตามกฎหมายกำหนด


หากมีการเรียกเก็บเงินสมทบลูกจ้างผู้ประกันตนภายหลัง ลูกจ้างไม่ต้องจ่ายเพราะเป็นหน้าที่ของนายจ้าง

***ลูกจ้างที่ไม่ให้นายจ้างหักตาม ม.33 ไปสมัคร ม.39/ม.40 เองก็มีความผิดตามกฎหมายเช่นเดียวกัน.
ขอบคุณความรู้ดีดีจาก
เพจ:แรงงานเพื่อสังคม

         คุณกฤษฎา ด้วงหิรัญ
เลขาฯกลุ่มแรงงานเพื่อสังคม

ลงข้อมูลวันที่: 02/10/2565

ลูกจ้าง ไม่ได้เขียนใบลาออกไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าว่าจะลาออก


" ลูกจ้าง ไม่ได้เขียนใบลาออกไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าว่าจะลาออกนายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
ลูกจ้างไม่ได้เขียนใบลาออก ได้แต่บอกนายจ้าง ว่าจะออกจากงาน แล้วก็ไม่ไปทำงานอีกเลย 
ลูกจ้างถามว่า 

 ๑. ตนจะได้รับค่าจ้าง ในวันที่ทำงานค้างไว้หรือไม่ เพราะนายจ้างแสดงเจตนา ว่าจะไม่จ่ายค่าจ้าง และจะฟ้องลูกจ้าง อ้างเหตุทำให้บริษัทฯเสียหาย ลาออกโดยไม่ได้บอกนายจ้างล่วงหน้า ตามที่ระเบียบของบริษัทฯ จึงอยากรู้ว่า 

ตอบว่า  #กฎหมายคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา ๑๗ กำหนดให้นายจ้างเป็นฝ่ายบอกกล่าวลูกจ้างล่วงหน้า ให้แก่ลูกจ้าง ไม่มีกำหนดให้ลูกจ้างต้องบอกกล่าวต่อนายจ้างล่วงหน้า เพราะฉะนั้นลูกจ้างจึงไม่จำเป็นต้องบอกนายจ้างก่อนที่จะลาออก บอกแล้วสามารถออกได้เลย ส่วนเรื่องค่าจ้างค้างจ่าย #ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับตามจำนวนวันที่ทำงานไว้ให้นายจ้าง โดยต้องรอให้ครบรอบเงินเดือนออก ตามข้อตกลงการจ้างงาน
๒. นายจ้างจะฟ้องเรียกรับค่าเสียหายได้หรือไม่ 

ตอบว่า นายจ้าง #สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ จากการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ครบ อยู่ไม่ครบ ตามระเบียบฯ  แต่นายจ้างต้องพิสูจน์ความเสียหายให้ได้ชัดเจนเสียก่อน ถึงจะสามารถฟ้องเรียกรับค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ #ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์_มาตรา_๔๒๐ 

ส่วนวิธีคิดค่าเสียหายนั้น นายจ้างต้องหาตัวเลขให้ได้ว่า ลูกจ้าง สร้างรายได้ให้นายจ้างวันละเท่าไร บอกไม่ครบ อยู่ไม่ครบกี่วัน ก็นำมาคูณจำนวนวันเข้าไป เป็นเงินกี่บาท ก็จะสามารถฟ้องเรียกรับค่าเสียหายได้เท่านั้น โดยมีอายุความ ๑๐ ปีและสามารถเรียกรับดอกเบี้ยได้ร้อยละ ๗.๕ % ต่อปี


แต่ส่วนใหญ่ไม่มีนายจ้างที่ไหนฟ้องเรียกรับค่าเสียหายจากลูกจ้าง #เพราะมันได้ไม่คุ้มเสีย เสียค่าทนายแพงกว่าเงินที่จะได้ นายจ้างส่วนใหญ่จึงทำได้แค่ขู่ #แต่แค่ขู่ลูกจ้าง ก็กลัวจนต้องยอมทุกอย่างแล้ว #ยอมไม่รับค่าจ้างค้างจ่าย #ยอมไม่รับเงินประกันคืน #ยอมหมดกลัวโดนฟ้อง

ขอบคุณความรู้ดีดีจาก
คุณชาญศิลป์ ทรัพย์โนนหวาย

ลงข้อมูลวันที่: 02/10/2565

ลูกจ้างไม่ทำ OT หัวหน้างานลงโทษให้ใบเตือนได้ไหม


หากลูกจ้างไม่ทำ OT หัวหน้างานหรือนายจ้าง ลงโทษให้ใบเตือนได้ไหม " เท่ากับว่าบังคับให้ลูกจ้างทำ
โอทีห้ามบังคับทำ เว้นแต่เป็นงานต่อเนื่องไม่ทำแล้วจะเสียหายแก่นายจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ 2541 
มาตรา 24 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน และห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด

เว้น..แต่ได้รับความยินยอม จากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆไป ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน หรือเป็นงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น


สาระสำคัญของการทำล่วงเวลา(OT)และการทำงานในวันหยุด 

1.) บังคับทำไม่ได้ เว้นแต่..งานที่กฎกระทรวงกำหนด
2.) ต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้างก่อน
3.) หากตกลงยินยอมทำแล้ว แต่เปลี่ยนใจไม่ทำ นายจ้างลงโทษได้
4.) ต้องจัดเวลาพักก่อนการทำล่วงเวลา 20 นาที กรณีให้ทำตั้งแต่ 2 ชม.ขึ้นไป
5.) ต้องจ่ายค่าทำล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดเป็นเงินหรือตั๋วเงิน ตามที่ตกลง จะนำไปชดเชยเป็นวันหยุดไม่ได้
6.) ต้องจ่ายทุกคนไม่เกี่ยวกับตำแหน่ง เว้นแค่..ผู้มีอำนาจแทนนายจ้าง

#ป้ายประกาศรับสมัครงานโอทีบังคับ_ทำไม่ได้ขัดกับกฎหมาย
#ต้องจ่ายเป็นเงินเปลี่ยนเป็นวันหยุดไม่ได้
#ไม่เกี่ยวกับตำแหน่งต้องจ่ายยกเว้นผู้มีอำนาจแทนนายจ้าง
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก
cr: เพจ:แรงงานเพื่อสังคม

        กฤษฎา ด้วงหิรัญ
เลขาฯกลุ่มแรงงานเพื่อสังคม

ลงข้อมูลวันที่: 01/10/2565

“ลาบวช” นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างได้หรือไม่ และนายจ้างพิจารณาจากไหน


มีคำถามเรื่อง “ลาบวช”  นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างได้หรือไม่ อย่างไร
เบื้องต้นการบวชถือเป็นเรื่องดีงามที่ลูกจ้างได้มีเวลาศึกษา หรือ “สิกขา” พระธรรมวินัย แต่การจะ “ลาบวช” ได้หรือไม่ต้องพิจารณาดังนี้

๑) ไม่มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจัดวันลาบวชให้แก่ลูกจ้าง หากลูกจ้างเปิดข้อบังคับในการทำงานหรือระเบียบการลาแล้วไม่พบว่านายจ้างเขียนเรื่องสิทธิการลาบวชเอาไว้ จะถือว่านายจ้างทำผิดกฎหมายแรงงานไม่ได้

๒) ถ้านายจ้างจัดให้มีวันลาบวช (ทั้งๆ ที่กฎหมายไม่ได้บังคับ) โดยอาจกำหนดจำนวนวันลา วิธีการลา และสิทธิการได้รับเงินค่าจ้างว่าจะได้รับเงิน หรือไม่ได้รับเงินก็สามารถทำได้ และหากนายจ้างได้กำหนดวันลาไว้แล้วนายจ้างจะต้องผูกพันปฎิบัติให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับที่กำหนดเอาไว้

ข้อสังเกต การจัดให้มีวันลาบวชนายจ้างจัดทำได้ฝ่ายเดียวไม่ต้องได้รับความยินยอมจากฝ่ายลูกจ้างก็ได้ เพราะเป็นการจัดให้มีสภาพการจ้างที่เป็นคุณแก่ฝ่ายลูกจ้าง


๓) หากนายจ้างกำหนดให้มีวันลาบวชแล้ว ต่อมานายจ้างต้องการยกเลิกนายจ้างจะยกเลิกฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะถือเป็นสภาพการจ้าง การยกเลิกสิทธิวันลาบวชย่อมเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ฝ่ายลูกจ้าง จะต้องทำเป็นข้อตกลง หรือยื่นข้อเรียกร้อง หรือเปลี่ยนข้อเรียกร้องฝ่ายเดียวแต่ลูกจ้างไม่คัดค้านเป็นเวลานานย่อมเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างโดยปริยาย
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก
cr: เพจ : กฎหมายแรงงาน

ลงข้อมูลวันที่: 01/10/2565

ลูกจ้างมาทำงานสายแล้ว นายจ้างจะขอหักเงินเดือนได้ไหม


คุณเคยไหมคะว่าถ้าคุณมาทำงานสายแล้วนายจ้างจะขอหักเงินหรือแม้แต่กระทั่งให้คุณทำงานล่วงเวลาในการชดเชยเวลาการทำงานสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่กฎหมายระบุว่าทำไม่ได้นะคะ

ตามกฎหมาย พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 76 แจ้งว่านายจ้างจะสามารถหักเงินค่าจ้างค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุดได้มีแค่ 5 กรณีเท่านั้น

กรณีที่ 1 คือการนำเพื่อนำส่งภาษีเป็นภาษีเงินได้ภาษีรายได้ของลูกจ้าง
ข้อที่ 2 คือการหักเพื่อสมทบเงินสมาชิกสหภาพแรงงาน
ข้อที่ 3 คือการหักเพื่อนำส่งกองทุนต่างๆไม่ว่าจะเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนจากประกันสังคม
ข้อที่ 4 ถ้าคุณมีคำสั่งศาลเกี่ยวกับการฟ้องแพ่งว่าคุณแพ้คดีคุณติดหนี้บัตรเครดิตหรือคุณขึ้น เครดิตบูโร  Credit Bureau และจะต้องมีการไกล่เกลี่ยหรือปรับโครงสร้างหนี้นะคะ HR (Human Resource) หรือ (Human Resource Management) ซึ่งก็คืองานของฝ่ายบุคคล หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สามารถหักเงินหรือองค์กรสามารถหักเงินคุณเพื่อนำส่งเจ้าหนี้นั้นได้นะคะและข้อสุดท้ายการที่คุณจะโดนหักเงินได้ก็คือคุณทำความผิดที่อาจจะก่อให้เกิดนายจ้างมีความเสียหายนะคะหรือแม้แต่กระทั่งความประมาทเลินเล่อความจงใจก็ตามตามมาตรา 10 นะคะที่นี้การที่คุณมาสายแล้วคุณโดนนายจ้างหักเงินไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ถ้าสมมุติว่านายจ้างวันนี้กำหนดว่าหักณทีละ 10 บาทหรือว่าถ้ามาสายกว่า 5 นาทีตัดเป็นครึ่งชั่วโมงหรือมีการกำหนดว่าเหมาว่ามาสายแล้วจะต้องเหมาเดือนละ 1000 หรือเดือนละ 1,500 บาทแบบนี้นะคะทำไม่ได้แต่ตามกฎหมายบอกว่าถ้าเกิดว่าคุณเป็นลูกจ้างรายเดือนเป็นลูกจ้างประจำการที่คุณทำงานได้เงินเดือนต้องแลกกับการทำงานนายจ้างสามารถใช้สิทธิ์ No Work No pay ได้โดยจะต้องมีการเอาเงินเดือนมาตั้งหารด้วยจำนวนวันนะคะและหารรายชั่วโมงแล้วถึงจะมาหาคุณและชี้แจงลงในสลิปเงินเดือนให้ถูกต้องตามกฎหมายแบบนี้ถือว่าทำได้นะคะที่นี้การที่คุณมาสายไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผลอะไรกับชีวิตคุณนะคะ
ในประสบการณ์ของ HR ส่วนใหญ่จะมีการทำเกี่ยวกับคนทำผิดน่ะค่ะอยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกันสำหรับคนที่มาสาย
ขั้นตอนที่ 1 คนที่เป็นหัวหน้างานหรือคนที่เป็นฝ่ายบุคคลจะเรียกเข้ามาคุยเป็นวาจาก่อนแล้วก็บอกว่าเราไม่อยากให้คุณมาสายกันที่คุณมาสายจะทำให้คุณโดนตัดเบี้ยเลี้ยงนะหรือจะทำให้คุณไม่ผ่านการประเมินเกณฑ์ต่างๆหรือแม้กระทั่งเป็นที่เพ่งเล็งของบริษัทไม่อย่างนั้นพี่จะออกใบเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร

ขั้นที่ 2 นะคะคือขั้นของการออกหนังสือเตือนนะคะรวมไปถึงการจัดการการให้โบนัสปรับเงินเดือนขึ้นการไม่เลื่อนตำแหน่งนะคะหรือการจัดสวัสดิการหรือกิจกรรมต่างๆที่บริษัทกำลังจะจัดคุณสามารถออกเป็นหนังสือเดือนได้

และขั้นที่ 3 คือการให้ออกหรือการให้พ้นสภาพโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยถ้าเกิดว่าคุณมีการออกใบเตือนแล้วภายใน 1 ปีเพราะฉะนั้นถ้าเกิดว่าภายใน 1 ปีนั้นคุณเตือนแล้วทั้งวาจาเป็นลายลักษณ์อักษรและยังมาสายซ้ำอีกคุณสามารถให้ออกได้เลยโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะฉะนั้นอย่าคิดว่ามาสายแล้วไม่มีผลอะไรนะคะ 

ลงข้อมูลวันที่: 30/09/2565

นายจ้างควรจัดเวลา พัก กี่ชั่วโมง ให้ลูกจ้างที่ทำงานใน 1 วัน


นายจ้างควรจัดเวลา พัก กี่ชั่วโมง ให้ลูกจ้างที่ทำงานในหนึ่งวัน


เวลาพัก

2.1 ระหว่างการทำงานปกติวันหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง หลังจากลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมง ติดต่อกัน นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักครั้งหนึ่งน้อยกว่า 1 ชั่วโมงก็ได้แต่รวมกันแล้ววันหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง สำหรับงานในร้านขายอาหารหรือร้านขายเครื่องดื่มซึ่งเปิดจำหน่ายหรือให้บริการ ไม่ติดต่อกันในแต่ละวัน วันหนึ่งอาจพักเกิน 6 ชั่วโมงก็ได้ หรือกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาพักเป็นอย่างอื่น ข้อตกลงนั้น ต้องเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง

2.2 ก่อนการทำงานล่วงเวลาในกรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักไม่น้อยกว่า 20 นาที ก่อนที่ลูกจ้างเริ่มทำงานล่วงเวลา

2.3 กรณีเป็นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปนายจ้างอาจจัดให้มีเวลาพักระหว่างการทำงานหรือก่อนการทำงานล่วงเวลาแตกต่างจากข้อ 2.1 และ 2.2 โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉินก็ได้

สิทธิหน้าที่ นายจ้าง ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

ลงข้อมูลวันที่: 30/09/2565

นายจ้างควรจัดวันหยุด ให้ลูกจ้างที่ทำงานกับนายจ้างด้วยน่ะ


นายจ้างควรจัดวันหยุด ให้ลูกจ้างที่ทำงานกับนายจ้าง เช่นวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่า 1 วันและต้องมีระยะห่างกัน ไม่เกิน 6 วัน สำหรับงานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่างานในที่ทุรกันดาร หรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปหยุดเมื่อใดก็ได้แต่ต้องอยู่ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน

วันหยุดตามประเพณี

ปีหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติให้พิจารณาจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไป สำหรับงานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม ฯลฯ อาจตกลงกันหยุดวันอื่น ชดเชยวันหยุดตามประเพณี หรือจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้

วันหยุดพักผ่อนประจำปี

ปีหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน สำหรับลูกจ้าง ซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนปีต่อมานายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้หยุดในปีนั้นไปรวมเข้ากับปีต่อๆ ไปได้

ลงข้อมูลวันที่: 30/09/2565

ละทิ้งหน้าที่ 3 วันนายจ้างเลิกจ้างได้หากมีค่าจ้างค้างต้องจ่ายให้เรียบร้อย


ละทิ้งหน้าที่ 3 วันนายจ้างเลิกจ้างได้หากมีค่าจ้างค้างจ่ายก็ต้องจ่ายให้เรียบร้อย พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี

ตัวอย่างเคสนี้ ลูกจ้างขาดงานระหว่างวันที่ 29  เมษายน 2544 - 3 พฤษภาคม 2544


ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน และตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
การที่ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่แจ้งนายจ้างตามระเบียบ และขาดงานไปดังกล่าว จึงถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการละทิ้งหน้าที่ไปเสีย

นายจ้างจึงชอบที่จะเลิกจ้างได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583  นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้าง 

และเมื่อนายจ้างบอกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 4  พฤษภาคม 2544 ลูกจ้างซึ่งเป็นลูกจ้างรายเดือนมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันที่ 1 และวันที่ 2 พฤษภาคม 2544 ซึ่งเป็นวันหยุดประจําสัปดาห์ และวันหยุดตามประเพณี และในวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 อันเป็นวันทํางานปกติของลูกจ้าง นายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างตามวันดังกล่าวแก่ลูกจ้าง พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง 

ข้อสังเกต 

เคสนี้ แม้ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่แต่ช่วงเวลาที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ไปนายจ้างไม่ได้เลิกจ้าง มาเลิกจ้างภายหลังจากละทิ้งหน้าที่ 5  วัน ดังนั้น ช่วงเวลาดังกล่าวแม้จะมีวันหยุดคั่น แต่เมื่อลูกจ้างเป็นลูกจ้างที่รับเงินเดือนมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างด้วย
ที่มา คำพิพากษาฎีกาที่ 5713/2561 
cr: เพจ กฎหมายแรงงาน
รองศาสตราจารย์ตรีเนตร สาระพงษ์

ลงข้อมูลวันที่: 29/09/2565

ลูกจ้างที่ทำสัญญาจ้างปีต่อปีมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยหรือไม่


ในกรณีทำงานที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเช่นตกลงจ้างปีต่อปีหรือว่าจ้าง 6 เดือนอันนี้เราก็รู้ว่าเขาจะเลิกจ้างเราวันไหนเขาเรียกว่าสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนกรณีอย่างนี้เมื่อมีการทำงานไปครบระยะเวลา เช่นทำงานครบ 1 ปีตามสัญญาหรือทำงานครบ 6 เดือนทำสัญญาแล้วนายจ้างให้ออกจากงานจริงๆ ก็คือเขาก็บอกว่าเขาไม่ได้เลิกจ้างหรอกแต่ว่าก็ครบสัญญาเขาไม่ได้พูดสักคำนะว่าเขาเลิกจ้างแต่มันครบสัญญากรณีอย่างนี้ต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างเหมือนกันนะครับ
นายจ้างจะมาอ้างว่าไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้ เพราะการที่สัญญาครบกำหนดนั้นตามมาตรา 118 วรรคที่ 2 ของกฎหมายคุ้มครองแรงงานเขียนเอาไว้ว่าเป็นการเลิกจ้างเมื่อเป็นการเลิกจ้างนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยด้วย เช่นตกลงจ้างงกันมา 1 ปีกรณีอย่างนี้ถ้าครบปีพอดีเป๊ะนะครับต้องจ่าย 90 วันแต่ถ้าทำงานมาไม่ครบปีเช่นทำงาน 364 วันเขาก็ต้องจ่ายค่าชดเชย 30 วันครับเพราะถือว่าอยู่ในช่วงของทำงานครบ 120 วันจะไม่ครบ 1 ปีก็ต้องจ่ายค่าชดเชย 30 วัน

จำหลักไว้นะครับเมื่อสัญญาสิ้นสุดเขาไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้านะครับเขาไม่ต้องบอกเราล่วงหน้าแปลว่าเราไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าตกใจ

แต่เรามีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเขาจะไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้ถ้าเขาไม่จ่ายไปร้องแรงงานในเขตพื้นที่และเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีนับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน
 

ทำไมเรียกจากวันที่ออกจากงาน เพราะ ค่าชดเชยต้องจ่ายทันทีที่ออกจากงาน

ลงข้อมูลวันที่: 28/09/2565

นายจ้างควรให้ลูกจ้างทำงานกี่ชั่วโมงต่อวัน


สิทธิหน้าที่ นายจ้าง ลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ลูกจ้าง นายจ้างต้องรู้

1. เวลาทำงานปกติ

       1.1 กรณีงานทั่วไป

เวลาทำงานปกติต้องไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง หรือตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน แต่ต้องไม่เกินวันละ 9 ชั่วโมงและเมื่อรวมเวลาทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง

         1.2 กรณีงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

และความปลอดภัยของลูกจ้าง ได้แก่ งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือในที่อับอากาศงานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี งานเชื่อมโลหะงานขนส่งวัตถุอันตราย งานผลิตสารเคมีอันตราย งานที่ต้องทำด้วยเครื่องมือหรือเครื่องจักรซึ่งผู้ทำได้รับความสั่นสะเทือนอันอาจเป็นอันตราย และงานที่ต้องทำเกี่ยวกับความร้อนจัดหรือความเย็นจัดอันอาจเป็นอันตราย โดยสภาพของงานมีความเสี่ยงอันตรายสูงหรือมีภาวะแวดล้อมในการทำงานเกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขที่แหล่งกำเนิดได้ และต้องจัดให้มีการป้องกันที่ตัวบุคคล ให้มีเวลาทำงานปกติไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 42 ชั่วโมง

ลงข้อมูลวันที่: 28/09/2565


ลงข้อมูลวันที่: 01/01/2513


ลงข้อมูลวันที่: 01/01/2513